-
กิจกรรม Opening Innovation Class (OIC) เพื่อขับเคลื่อนการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามโมเดล Innovator Design Process (IDP) ที่บูรณาการร่วมกับแพลตฟอร์ม Code Combat
วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ 2566 โรงเรียนจัดกิจกรรม Opening Innovation Class (OIC) เพื่อขับเคลื่อนการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามโมเดล Innovator Design Process (IDP) ที่บูรณาการร่วมกับแพลตฟอร์ม Code Combat เพื่อพัฒนาทักษะแห่งอนาคตของผู้เรียน ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ บพค. ร่วมกับ Code Combat ประเทศไทย ในการศึกษาวิจัยเพื่อสร้างกำลังคนโค้ดดิ้งที่รองรับเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล ในกิจกรรมนี้ มีคณะผู้สังเกตการจัดการเรียนรู้ของอาจารย์กวิน เธียรวรรณ ในชั้นเรียนยูนิท C2/1 ที่ห้อง Smart Classroom เวลา 13.50 น.- 14.40 น. จำนวน 5 ท่าน คือ รองศาสตราจารย์ ดร.รินา ภัทรมานนท์ ประธานคณะประสานงานคลัสเตอร์ด้าน Frontier Research คุณจตุรภรณ์ โชคภูเขียว ประธานคณะประสานงานคลัสเตอร์ด้าน SHA และ AI อ.ดร.สามารถ สิงห์มา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อ.ดร.นนท์ จรุงศิรวัฒน์ อ.ดร.ณัฐกานต์ เมยเค้า โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (ศึกษาศาสตร์) อ.ชินภัทร จันทร์เรือง โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายอนุบาลศึกษา อาจารย์สุธาสินี สีแจ่มจิรานนท์ และอาจารย์นัยนา ชมภูศรี โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายประถมศึกษา (มอดินแดง)
-
นวัตกรทางคณิตศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2565
วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร. ศราวุธ จักรเป็ง รองผู้อำนวยการโรงเรียนฯให้เกียรติเป็นประธานในการเปิดกิจกรรมนวัตกรทางคณิตศาสตร์กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายประถมศึกษา (ศึกษาศาสตร์) วัตถุประสงค์ของกิจกรรมนวัตกรรมทางคณิตศาสตร์นี้ เพื่อส่งเสริมศักยภาพทางคณิตศาสตร์ในการสร้างนวัตกรรม ผลงานเชิงสร้างสรรค์ สิ่งประดิษฐ์ และแนวคิดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนภายในงานมีการจัดแสดงผลงานนวัตกรรมทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนอย่างหลากหลายและอีกหนึ่งกิจกรรมในวันนี้คือกิจกรรมพี่เพื่อน้องที่พี่ๆ ยูนิท ดี อี และเอฟ ได้จัดกิจกรรมพี่เพื่อน้อง ให้น้องๆ ยูนิท เอ บี ซี ได้ร่วมกิจกรรมเกมทางคณิตศาสตร์อีกด้วย
-
กิจกรรม Open Class คณิตศาสตร์ ครั้งที่ 3/2565 พาดหัวข่าว กิจกรรม Open Class คณิตศาสตร์ ครั้งที่ 3/2565 วันพุธที่ 7 กันยายน 2565 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ จัดกิจกรรมเปิดชั้นเรียน (Open Class) ครั้งที่ 3 ภายใต้กระบวนการชุมชนแห่งการเ
วันพุธที่ 7 กันยายน 2565 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ จัดกิจกรรมเปิดชั้นเรียน (Open Class) ครั้งที่ 3 ภายใต้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC ซึ่งดำเนินการร่วมกับคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยเป็นการเปิดชั้นเรียนแบบ Hybrid คือมีการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียน (On-site) และมีผู้เข้าร่วมชมการเปิดชั้นเรียนแบบ On-site และ Online ผ่านระบบ Zoom โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมประมาณ 30 คน ประกอบด้วยผู้ปกครอง นักศึกษา บุคลากรทางการศึกษาจากคณะศึกษาศาสตร์ มข. สาธิต มข. ฝ่ายประศึกษา (มอดินแดง) สาธิต มข. ฝ่ายนานาชาติ โรงเรียนบ้านแพงพวย (สังฆคุรุราษฎร์บำรุง) โรงเรียนบ้านศรีเชียงใหม่ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง เป็นต้น การเปิดชั้นเรียนนี้ผู้สอนเป็นนักศึกษาปฏิบัติการสอนสาขาคณิตศาสตรศึกษา มีกิจกรรมดังนี้ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (ยูนิทเอ 1) กิจกรรม “ภาพสวยด้วยมือเรา” โดย นายกอบชัย สำโรงพล ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (ยูนิทเอ 2) กิจกรรม “พลพรรคสัตว์จอมป่วน” โดย นายอำพล สลับศรี ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 (ยูนิทบี 1) กิจกรรม “เอ๊ะอ๋อ เท่ากันไหมหนอ?” โดย นายเฉลิมชัย แก้วชิน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (ยูนิทดี 1) กิจกรรม “หลอดมหัศจรรย์” โดย นายปรัชญา จันวัน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (ยูนิทดี 2) กิจกรรม “หลอดมหัศจรรย์” โดย นายสุทธิชัย ไทยแสนทา ทั้งนี้กลุ่มสาระฯคณิตศาสตร์ได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.ศราวุธ จักรเป็ง รองผู้อำนวยการฯ กล่าวเปิดกิจกรรม และได้รับความอนุเคราะห์การสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญคณะศึกษาศาสตร์ ได้แก่ อ.ดวงมณี ยะอัมพันธ์ ผศ.ดร.สัมพันธ์ ถิ่นเวียงทอง ผศ.ดร.นฤมล ช่างศรี ดร.จิตรลดา ใจกล้า และ อ.ณัฐธิดา นามบุดดี กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ขอขอบคุณผู้เชี่ยวชาญเป็นอย่างสูง และขอบคุณทุกภาคส่วนที่ทำให้การจัดกิจกรรมในครั้งนี้บรรลุตามวัตถุประสงค์ทุกประการ
-
กิจกรรมเปิดชั้นเรียนภาษาไทย ครั้งที่ 3
วันที่ 8 กันยายน 2565 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายประถมศึกษา (ศึกษาศาสตร์) ได้ดำเนินกิจกรรมเปิดชั้นเรียน ครั้งที่ 3 (Open class) ตามกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ Professional Learning Community (PLC) โดยใช้กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ตามกรอบหลักสูตรโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่สร้างนวัตกรที่มีความคิดสร้างสรรค์ในยูนิทเอ 1, ยูนิทบี 2, ยูนิทซี 2, ยูนิทดี 1 , ยูนิทดี 2 และยูนิทอี 2 และกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ในยูนิทเอ 1 การจัดกระบวนการเรียนรู้ในครั้งนี้ได้ร่วมกันวางแผน ร่วมกันออกแบบและสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องและตอบสนองต่อวิสัยทัศน์ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยทั้งนี้ได้วิเคราะห์จากกรอบสมรรถนะ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนที่มุ่งเน้นการคิดสร้างสรรค์และการเป็นนวัตกรในยุคดิจิทัล สร้างเป็นกรอบแนวคิดในการจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยคณาจารย์และนักศึกษาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาสาขาวิชาการสอนภาษาไทยได้ร่วมกันออกแบบและสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ โดยในวันที่ 8 กันยายนได้เปิดชั้นเรียนจำนวน 6 ยูนิท ดังนี้ เวลา 08.50 น. - 09.40 น. ยูนิทซี 2 เรื่องมหัศจรรย์คำพ้องรูป โดยนางสาวสิริลักษณ์ สืบชมภู เวลา 09.40 น. - 10.30 น. ยูนิทดี 2 เรื่อง ไวรัส เจ้าปัญหา โดยนางสาวเพชรณิชา สุวรรณรัตน์ เวลา 11.20 น. - 12.10 น. ยูนิทอี 2 เรื่องพจนานุกรม รื่นรมย์คำศัพท์ โดยนางสาวรุจิรา มีชิน เวลา 13.00 น. - 13.50 น. ยูนิทบี 2 เรื่องอักษรสูง อักษรกลาง นำต่ำควรรู้ โดยนางสาวมนพร เขียวสาคู เวลา 13.50 น. - 14.40 น. ยูนิทดี 1 เรื่องฝ่าวิกฤต พิชิตคำ โดยนางสาวช่อผกา แต่งสุวรรณ เวลา 14.40 น. - 15.30 น. ยูนิทเอ 1 เรื่องสะกดคำและแจกลูกคำสระเอีย โดยนายสุพิชัย สรรพกิจจำนง การเปิดชั้นเรียนครั้งนี้ได้มีผู้เข้าสังเกตการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอก ตลอดจนร่วมกันสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ตามแผนที่กำหนดไว้ ซึ่งกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC ได้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ทุกประการ ทางกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยขอขอบคุณผู้บริหาร อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ คณะครู ผู้ปกครอง และนักเรียนทุกคนที่ทำให้การจัดกิจกรรมในครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
-
กิจกรรม Open Class คณิตศาสตร์ ครั้งที่ 2/2565
วันพุธที่ 3 สิงหาคม 2565 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ จัดกิจกรรมเปิดชั้นเรียน (Open Class) ครั้งที่ 2 ภายใต้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC ซึ่งดำเนินการร่วมกับคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยเป็นการเปิดชั้นเรียนแบบ Hybrid คือมีการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียน (On-site) และมีผู้เข้าร่วมชมการเปิดชั้นเรียนแบบออนไลน์ผ่านระบบ Zoom โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมประมาณ 40 คน โดยเป็นผู้ปกครอง นักศึกษา บุคลากรทางการศึกษาจากคณะศึกษาศาสตร์ มข. สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (มอดินแดง) โรงเรียนเทศบาลวัดเสมาเมือง โรงเรียนโนนจันทึกห้วยแกวิทยา และโรงเรียนบ้านห้วยผุก เป็นต้น การเปิดชั้นเรียนนี้ผู้สอนเป็นนักศึกษาปฏิบัติการสอนสาขาคณิตศาสตรศึกษา มีกิจกรรมดังนี้ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (ยูนิทเอ 1) กิจกรรม “ปลาทองจอมซน” โดย นายกอบชัย สำโรงพล ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (ยูนิทเอ 2) กิจกรรม “เจ้าหนูลึกลับ” โดย นายอำพล สลับศรี ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 (ยูนิทบี 1) กิจกรรม “สตรอว์เบอร์รีชวนชิม” โดย นายเฉลิมชัย แก้วชิน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (ยูนิทดี 1) กิจกรรม “จับคู่ หาเศษเหลือ” โดย นายปรัชญา จันวัน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (ยูนิทดี 2) กิจกรรม “จับคู่ หาเศษเหลือ” โดย นายสุทธิชัย ไทยแสนทา ทั้งนี้กลุ่มสาระฯคณิตศาสตร์ได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.ศราวุธ จักรเป็ง รองผู้อำนวยการฯ กล่าวเปิดกิจกรรม และได้รับความอนุเคราะห์การสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญคณะศึกษาศาสตร์ ได้แก่ อ.ดวงมณี ยะอัมพันธ์ ผศ.ดร.สัมพันธ์ ถิ่นเวียงทอง ผศ.ดร.นฤมล ช่างศรี อ.ดร.นิศากร บุญเสนา และ อ.ณัฐธิดา นามบุดดี กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ขอขอบคุณผู้เชี่ยวชาญเป็นอย่างสูง และขอบคุณทุกภาคส่วนที่ทำให้การจัดกิจกรรมในครั้งนี้บรรลุตามวัตถุประสงค์ทุกประการ
-
กิจกรรมเปิดชั้นเรียนภาษาไทย ครั้งที่ 2
วันที่ 4 สิงหาคม 2565 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายประถมศึกษา (ศึกษาศาสตร์) ได้ดำเนินกิจกรรมเปิดชั้นเรียน ครั้งที่ 2 (Open Class) ตามกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ Professional Learning Community (PLC) โดยใช้กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดสร้างสรรค์ในยูนิทบี 2, ยูนิทซี 2 และยูนิทอี 2 และกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ในยูนิทเอ 1, ยูนิทดี 1, ยูนิทดี 2 การจัดกระบวนการเรียนรู้ในครั้งนี้ได้ร่วมกันวางแผน ร่วมกันออกแบบและสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องและตอบสนองต่อวิสัยทัศน์ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยทั้งนี้ได้วิเคราะห์จากกรอบสมรรถนะ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนที่มุ่งเน้นการคิดสร้างสรรค์และการเป็นนวัตกรในยุคดิจิทัล สร้างเป็นกรอบแนวคิดในการจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยคณาจารย์และนักศึกษาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาสาขาวิชาการสอนภาษาไทยได้ร่วมกันออกแบบและสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ คือ วันพฤหัสบดี ที่ 4 สิงหาคม 2565 เวลา 08.50 น. - 09.40 น. ยูนิทซี 2 เรื่องพลังงานคือชีวิต โดยนางสาวสิริลักษณ์ สืบชมภู เวลา 09.40 น. - 10.30 น. ยูนิทดี 2 เรื่องอักษรนำ จดจำได้ โดยนางสาวเพชรณิชา สุวรรณรัตน์ เวลา 11.20 น. - 12.10 น. ยูนิทอี 2 เรื่องคำอุทานแสนสนุก โดยนางสาวรุจิรา มีชิน เวลา 13.00 น. - 13.50 น. ยูนิทบี 2 เรื่องประโยคนั้นสำคัญไฉน โดยนางสาวมนพร เขียวสาคู เวลา 13.50 น. - 14.40 น. ยูนิทดี 1 เรื่องกริยา พาเพลิน โดยนางสาวช่อผกา แต่งสุวรรณ เวลา 14.40 น. - 15.30 น. ยูนิทเอ 1 เรื่องตามหาพยัญชนะและสระที่รัก โดยนายสุพิชัย สรรพกิจจำนง การเปิดชั้นเรียนครั้งนี้ได้มีผู้เข้าสังเกตการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอก ตลอดจนร่วมกันสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ตามแผนที่กำหนดไว้ ซึ่งกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC ได้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ทุกประการ ทางกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยขอขอบคุณผู้บริหาร อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ คณะครู ผู้ปกครอง และนักเรียนทุกคนที่ทำให้การจัดกิจกรรมในครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
-
กิจกรรมเปิดชั้นเรียนภาษาไทยครั้งที่ 1
วันที่ 6 - 8 กรกฎาคม 2565 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายประถมศึกษา (ศึกษาศาสตร์) ได้ดำเนินกิจกรรมเปิดชั้นเรียน ครั้งที่ 1 (Open class ) ตามกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ Professional Learning Community (PLC) โดยใช้กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ตามกรอบหลักสูตรโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่สร้างนวัตกรที่มีความคิดสร้างสรรค์ในยูนิทบี 2, ยูนิทซี 2, ยูนิทดี 1 , ยูนิทดี 2 และยูนิทอี 2 และกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ในยูนิทเอ 1 การจัดกระบวนการเรียนรู้ในครั้งนี้ได้ร่วมกันวางแผน ร่วมกันออกแบบและสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องและตอบสนองต่อวิสัยทัศน์ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยทั้งนี้ได้วิเคราะห์จากกรอบสมรรถนะ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนที่มุ่งเน้นการคิดสร้างสรรค์และการเป็นนวัตกรในยุคดิจิทัล สร้างเป็นกรอบแนวคิดในการจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยคณาจารย์และนักศึกษาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาสาขาวิชาการสอนภาษาไทยได้ร่วมกันออกแบบและสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ รวมทั้งสิ้น 3 วันด้วยกัน คือ วันพุธ ที่ 6 กรกฎาคม 2565 เวลา 13.00 - 13.50 น. ยูนิทซี 2 เรื่องมาตราตัวสะกดตรงตามมาตรา โดยนางสาวสิริลักษณ์ สืบชมภู วันพฤหัสบดี ที่ 7 กรกฎาคม 2565 เวลา 09.40 - 10.30 น. ยูนิทดี 2 เรื่องคำควบกล้ำ โดยนางสาวเพชรณิชา สุวรรณรัตน์ เวลา 11.20 - 12.10 น. ยูนิทอี 2 เรื่องสำนวนที่เป็นสุภาษิต โดยนางสาวรุจิรา มีชิน เวลา 13.00 - 13.50 น. ยูนิทบี 2 เรื่องสระเอียะ สระเอีย โดยนางสาวมนพร เขียวสาคู เวลา 13.50 - 14.40 น. ยูนิทดี 1 เรื่องฉันนี่แหละนักสืบ ใคร(คำ)เป็น ใคร(คำ)ตาย โดยนางสาวช่อผกา แต่งสุวรรณ วันศุกร์ ที่ 8 กรกฎาคม 2565 เวลา 09.40 - 10.30 น. ยูนิทเอ 1 เรื่องกิจกรรมอ่านเสริมบทเรียน โดยนายสุพิชัย สรรพกิจจำนง การเปิดชั้นเรียนครั้งนี้ได้มีผู้เข้าสังเกตการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอก ตลอดจนร่วมกันสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ตามแผนที่กำหนดไว้ ซึ่งกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC ได้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ทุกประการ ทางกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยขอขอบคุณผู้บริหาร อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ คณะครู ผู้ปกครอง และนักเรียนทุกคนที่ทำให้การจัดกิจกรรมในครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี