• ...

    กิจกรรมเปิดชั้นเรียนภาษาไทย ครั้งที่ 2

    วันที่ 4 สิงหาคม 2565 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายประถมศึกษา (ศึกษาศาสตร์) ได้ดำเนินกิจกรรมเปิดชั้นเรียน ครั้งที่ 2 (Open Class) ตามกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ Professional Learning Community (PLC) โดยใช้กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดสร้างสรรค์ในยูนิทบี 2, ยูนิทซี 2 และยูนิทอี 2 และกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ในยูนิทเอ 1, ยูนิทดี 1, ยูนิทดี 2 การจัดกระบวนการเรียนรู้ในครั้งนี้ได้ร่วมกันวางแผน ร่วมกันออกแบบและสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องและตอบสนองต่อวิสัยทัศน์ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยทั้งนี้ได้วิเคราะห์จากกรอบสมรรถนะ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนที่มุ่งเน้นการคิดสร้างสรรค์และการเป็นนวัตกรในยุคดิจิทัล  สร้างเป็นกรอบแนวคิดในการจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยคณาจารย์และนักศึกษาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาสาขาวิชาการสอนภาษาไทยได้ร่วมกันออกแบบและสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ คือ  วันพฤหัสบดี ที่ 4 สิงหาคม 2565 เวลา 08.50 น. - 09.40 น. ยูนิทซี 2 เรื่องพลังงานคือชีวิต โดยนางสาวสิริลักษณ์ สืบชมภู  เวลา 09.40 น. - 10.30 น. ยูนิทดี 2 เรื่องอักษรนำ จดจำได้ โดยนางสาวเพชรณิชา สุวรรณรัตน์ เวลา 11.20 น. - 12.10 น. ยูนิทอี 2 เรื่องคำอุทานแสนสนุก โดยนางสาวรุจิรา มีชิน เวลา 13.00 น. - 13.50 น. ยูนิทบี 2 เรื่องประโยคนั้นสำคัญไฉน โดยนางสาวมนพร เขียวสาคู เวลา 13.50 น. - 14.40 น. ยูนิทดี 1 เรื่องกริยา พาเพลิน โดยนางสาวช่อผกา แต่งสุวรรณ เวลา 14.40 น. - 15.30 น. ยูนิทเอ 1 เรื่องตามหาพยัญชนะและสระที่รัก โดยนายสุพิชัย สรรพกิจจำนง การเปิดชั้นเรียนครั้งนี้ได้มีผู้เข้าสังเกตการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอก ตลอดจนร่วมกันสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ตามแผนที่กำหนดไว้ ซึ่งกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC ได้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ทุกประการ ทางกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยขอขอบคุณผู้บริหาร อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ คณะครู ผู้ปกครอง และนักเรียนทุกคนที่ทำให้การจัดกิจกรรมในครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

  • ...

    กิจกรรมเปิดชั้นเรียนภาษาไทยครั้งที่ 1

         วันที่ 6 - 8 กรกฎาคม 2565 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายประถมศึกษา (ศึกษาศาสตร์) ได้ดำเนินกิจกรรมเปิดชั้นเรียน ครั้งที่ 1 (Open class ) ตามกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ Professional Learning Community (PLC) โดยใช้กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ตามกรอบหลักสูตรโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่สร้างนวัตกรที่มีความคิดสร้างสรรค์ในยูนิทบี 2, ยูนิทซี 2, ยูนิทดี 1 , ยูนิทดี 2 และยูนิทอี 2  และกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ในยูนิทเอ 1 การจัดกระบวนการเรียนรู้ในครั้งนี้ได้ร่วมกันวางแผน ร่วมกันออกแบบและสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องและตอบสนองต่อวิสัยทัศน์ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยทั้งนี้ได้วิเคราะห์จากกรอบสมรรถนะ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนที่มุ่งเน้นการคิดสร้างสรรค์และการเป็นนวัตกรในยุคดิจิทัล  สร้างเป็นกรอบแนวคิดในการจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยคณาจารย์และนักศึกษาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาสาขาวิชาการสอนภาษาไทยได้ร่วมกันออกแบบและสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ รวมทั้งสิ้น 3 วันด้วยกัน คือ  วันพุธ ที่ 6 กรกฎาคม 2565  เวลา 13.00 - 13.50 น. ยูนิทซี 2 เรื่องมาตราตัวสะกดตรงตามมาตรา โดยนางสาวสิริลักษณ์ สืบชมภู  วันพฤหัสบดี ที่ 7 กรกฎาคม 2565  เวลา 09.40 - 10.30 น. ยูนิทดี 2 เรื่องคำควบกล้ำ โดยนางสาวเพชรณิชา สุวรรณรัตน์ เวลา 11.20 - 12.10 น. ยูนิทอี 2 เรื่องสำนวนที่เป็นสุภาษิต โดยนางสาวรุจิรา มีชิน เวลา 13.00 - 13.50 น. ยูนิทบี 2 เรื่องสระเอียะ สระเอีย โดยนางสาวมนพร เขียวสาคู เวลา 13.50 - 14.40 น. ยูนิทดี 1 เรื่องฉันนี่แหละนักสืบ ใคร(คำ)เป็น ใคร(คำ)ตาย โดยนางสาวช่อผกา แต่งสุวรรณ วันศุกร์ ที่ 8 กรกฎาคม 2565  เวลา 09.40 - 10.30 น. ยูนิทเอ 1 เรื่องกิจกรรมอ่านเสริมบทเรียน โดยนายสุพิชัย สรรพกิจจำนง      การเปิดชั้นเรียนครั้งนี้ได้มีผู้เข้าสังเกตการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอก ตลอดจนร่วมกันสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ตามแผนที่กำหนดไว้ ซึ่งกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC ได้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ทุกประการ ทางกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยขอขอบคุณผู้บริหาร อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ คณะครู ผู้ปกครอง และนักเรียนทุกคนที่ทำให้การจัดกิจกรรมในครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

  • ...

    กิจกรรมเปิดชั้นเรียน ครั้งที่ 1 (Open class ) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม 

         วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ 2565  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรมโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายประถมศึกษา  (ศึกษาศาสตร์)  ได้ดำเนินกิจกรรมเปิดชั้นเรียน ครั้งที่ 1 (Open class ) ตามกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community (PLC)  โดยใช้กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ตามกรอบหลักสูตรโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่สร้างนวัตกรที่มีความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งมีกิจกรรมดังต่อไปนี้ ระดับยูนิทเอ 2 กิจกรรม เรื่อง การรักษาความสะอาดในห้องเรียน โดย นางสาวเจนจิรา สีหาวงษ์ ระดับยูนิทบี 1 กิจกรรม เรื่อง ทำงานดี มีรายได้ โดย นายพิริยภูมิ หง่อยกระโทก ระดับยูนิทซี 1 กิจกรรม เรื่อง ศาสนาคริสต์ โดย นางสาวเบญญาภา มดแดง ระดับยูนิทอี 1 กิจกรรม เรื่อง วัณณาโรหชาดก โดย นางสาวกาญจนันท์ ไชยชมภู ระดับยูนิทเอฟ 1 กิจกรรม เรื่อง ทรัพยากรดิน และการอนุรักษ์ทรัพยากรดิน โดย นางสาวกัญญาณัฐ มหาอุ่ม     การจัดกระบวนการเรียนรู้ในครั้งนี้ได้ร่วมกันวางแผน ร่วมกันออกแบบและสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องและตอบสนองต่อวิสัยทัศน์ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยทั้งนี้ได้วิเคราะห์จากกรอบสมรรถนะ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนที่มุ่งเน้นการคิดสร้างสรรค์และการเป็นนวัตกรในยุคดิจิทัล  สร้างเป็นกรอบแนวคิดในการจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยคณาจารย์และนักศึกษาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาสาขาวิชาสังคมศึกษาได้ร่วมกันออกแบบและสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ ในทุกวันจันทร์ เวลา 16.30 – 18.30 น.ผ่านระบบ ZOOM Meeting      การเปิดชั้นเรียนครั้งนี้ได้มีผู้เข้าสังเกตการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดจนร่วมกันสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ตามแผนที่กำหนดไว้ ซึ่งกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC ได้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ทุกประการ ทางกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ขอขอบคุณผู้บริหาร คณะครู ผู้ปกครอง

  • ...

    “เปิดชั้นเรียน คณิตศาสตร์” (OPEN CLASS) ครั้งที่ 3 NEW NORMAL

                ผศ.ดร.ศราวุธ จักรเป็ง รองผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายประถมศึกษา (ศึกษาศาสตร์) ให้เกียรติเป็นประธานเปิดกิจกรรมและร่วมสังเกตชั้นเรียนกิจกรรม OPEN CLASS  “เปิดชั้นเรียน คณิตศาสตร์”  ครั้งที่ 3 ประจำปีการศึกษา 2564  ในวันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน 2564  ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ด้านการสอนคณิตศาสตร์แบบออนไลน์ เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและพัฒนาทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน  โดยมีการเปิดชั้นเรียนภายใต้กระบวนการ PLC  ในครั้งนี้การเปิดชั้นเรียน 3 ระดับชั้น คือ ระดับยูนิท เอ เรื่อง “Zoolympic” โดย นางสาววิรมณ กัลยารัตน์   ระดับยูนิท ซี เรื่อง “การลบแสนลึกลับ” โดย นางสาวชุตินนฑณ์ ธนาทิพย์   ระดับยูนิท ดี เรื่อง “มุมอะไรนะ” โดย นายสรสิทธิ์ ชุมศรี  (ผู้สอนทั้ง 3 คนเป็นนักศึกษาปฏิบัติการสอนฯ สาขาคณิตศาสตรศึกษา มข.)  โดยผู้สังเกตชั้นเรียนร่วมรับชมผ่านระบบ zoom meeting และถ่ายทอดสดผ่าน you tube live  ในการนี้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ขอขอบคุณ อาจารย์ดวงมณี  ยะอัมพันธ์  และ ผศ.ดร.สัมพันธ์ ถิ่นเวียงทอง  ผู้เชี่ยวชาญจากคณะศึกษาศาสตร์ที่เข้าสังเกตชั้นเรียนและเสนอแนวคิดในการพัฒนาชั้นเรียน ขอบคุณนักศึกษา คณาจารย์จากมหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยวไลยองกรณ์  มหาวิทยาลัยราชภัฏอื่น ๆ รวมถึงผู้ปกครองที่เข้าร่วมสังเกตชั้นเรียนมา ณ โอกาสนี้

  • ...

    ตัวแทนคณาจารย์ ร่วมถอดบทเรียนกิจกรรมส่งเสริมกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาจรรณยาบรรณวิชาชีพผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ( E – PLC ) กับสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา

                 วันเสาร์ที่ 18 กันยายน 25654  สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาได้จัดกิจกรรมการประชุมเชิงปฏิบัติการถอดบทเรียนกิจกรรมส่งเสริมกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาจรรณยาบรรณวิชาชีพผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (Ethics in Professional Learning Community : E – PLC) ในรูปแบบออนไลน์ ทั้งนี้มีตัวแทนจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ที่เข้าร่วมโครงการ E – PLC ทั่วประเทศร่วมกิจกรรมถอดบทเรียนฯ ทั้งนี้ตัวแทนผู้เข้าร่วมจากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้แก่ตัวแทนผู้บริหาร อาจารย์ผู้เคยได้รับรางวัลจากคุรุสภา อาจารย์ผู้สอน ตลอดจนนักศึกษาปฏิบัติการสอน โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ฝ่ายประถมศึกษา (ศึกษาศาสตร์) เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวจำนวน 4 ท่าน ​ ​1) ผศ.ดร.ศราวุธ จักรเป็ง รองผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายประถมศึกษา (ศึกษาศาสตร์)​ ​​2) ผศ.ภัสสรา อินทรกำแหง ตัวแทนอาจารย์อาวุโส ผู้เคยได้รับรางวัลจากคุรุสภา (รางวัลคุรุสดุดี) ​​3) อาจารย์กิติญาดา พัวพาณิชยกุล ตัวแทนอาจารย์พี่เลี้ยง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ​​4) นางสาวศรัญญา กันหาป้อง ตัวแทนนักศึกษาปฏิบัติการสอน จากกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กิจกรรมได้มีการแบ่งกลุ่มอภิปราย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ถอดบทเรียนกิจกรรมส่งเสริมกระบวนการชุมชน แห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาจรรณยาบรรณวิชาชีพ จากประสบการณ์การจัดกระบวนการ PLC ของโรงเรียน โดยแบ่งกลุ่มต่างๆ ตามหน้าที่รับผิดชอบ สถาบันการศึกษาทั่วประเทศ ประมาณ 12 กลุ่ม ซึ่งได้มีการนำเสนอและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูล สารสนเทศ และแนวคิดที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนากระบวนการ PLC ของโรงเรียนที่เป็นโมเดลต้นแบบร่วมผลิตครูมืออาชีพ คณะศึกษาศาสตร์ ม.ขอนแก่น ต่อไป #โมเดลต้นแบบการร่วมผลิตครูมืออาชีพคณะศึกษาศาสตร์ม.ขอนแก่น

  • ...

    เปิดชั้นเรียนภาษาไทยครั้งที่3

    เปิดชั้นเรียนภาษาไทยครั้งที่3              เมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ 2564 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายประถมศึกษา (ศึกษาศาสตร์) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ได้ดำเนินกิจกรรมเปิดชั้นเรียน ครั้งที่ 3 (Open class) ตามกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community - PLC) ผ่านระบบ ZOOM Meeting โดยใช้กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ตามกรอบหลักสูตรโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่สร้างนวัตกรที่มีความคิดสร้างสรรค์ใน ยูนิทบี 1, ยูนิทดี 2 และยูนิทอี 1           การจัดกระบวนการเรียนรู้ในครั้งนี้ได้ร่วมกันวางแผน ร่วมกันออกแบบและสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องและตอบสนองต่อวิสัยทัศน์ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยทั้งนี้ได้วิเคราะห์จากกรอบสมรรถนะ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนที่มุ่งเน้นการคิดสร้างสรรค์และการเป็นนวัตกรในยุคดิจิทัล  สร้างเป็นกรอบแนวคิดในการจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยคณาจารย์และนักศึกษาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาสาขาวิชาการสอนภาษาไทยได้ร่วมกันออกแบบและสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ในทุกสัปดาห์ ผ่านระบบ ZOOM Meeting การเปิดชั้นเรียนครั้งนี้เป็นการเปิดชั้นเรียนครั้งสุดท้ายของภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 การออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้ในการเปิดชั้นเรียนได้วิเคราะห์จากผลการจัดกระบวนการเรียนรู้ในรายวิชาภาษาไทยและการเปิดชั้นเรียนครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 นำมาปรับปรุง แก้ไข พัฒนาเพื่อให้แผนการจัดการเรียนรู้มีประสิทธิภาพ กระบวนการจัดการเรียนรู้บรรลุตามวัตถุประสงค์และช่วยให้ผู้เรียนเกิดองค์ความรู้ มีสมรรถนะและคุณลักษณะอันพึงประสงค์และทำให้ครูผู้สอนได้พัฒนาตนเองเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ความเป็นครูมืออาชีพ           การจัดกิจกรรมการเปิดชั้นเรียนในครั้งนี้ได้มีผู้เข้าสังเกตการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดจนร่วมกันสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ตามแผนที่กำหนดไว้ ซึ่งกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC ได้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ทุกประการ ทางกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยขอขอบคุณผู้บริหาร คณะครู ผู้ปกครอง และนักเรียนทุกคนที่ทำให้การจัดกิจกรรมในครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี